ข่าวราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ร่วมกับเทศบาลตำบลหินกองจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ถ้ำเขาบิน มิติใหม่ Cave & Craft in Forest ภายใต้โครงการยุวชนอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และตอบโจทย์พื้นที่ งานนี้มีแจกว่าวผู้มาร่วมงาน



               ที่ถ้ำเขาบิน ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี  ผศ.ดร.เชิดชัย ธุระแพง รองอธิการบดีฝ่ายบริการพื้นฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้าจอมบึง เป็นประธานเปิดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ถ้ำเขาบิน Cave & Craft in Forest ภายใต้โครงการยุวชนอาสาของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดย ผศ.รพีพรรณ กองตูม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและคณะผู้บริหารร่วมพิธี ผศ.ดร.นงลักษณ์ เพิ่มชาติ คณบดีคณะวิทยาการจัดการกล่าวรายงานโครงการ อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ นาคเสนีย์  ประธานสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ คณะวิทยาการจัดการ ผศ.สุนิสา โพธิ์พรหม  ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรมสื่อ และคณะอาจารย์จากสาขาวิชาต่าง ๆ  มีนายอรรถพล พระลักษณ์ นายกเทศมนตรีตำบลหินกอง  กล่าวในพิธี พร้อมด้วย พ.ต.นราพงษ์ พยัพตรี รองนายกเทศบาลตำบลหินกองให้การตอนรับ 

              ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยคณะวิทยาการจัดการร่วมกับเทศบาลตำบลหินกองกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวถ้ำเขาบิน เพื่อส่งเสริมพัฒนาและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของถ้ำเขาบิน เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการการยกระดับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดในยุคดิจิทัล กรณีศึกษาถ้ำเขาบิน   ซึ่งได้รับงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่น  วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการทำกิจกรรม DIY 5 ฐานความรู้จากปราชญ์ชุมชน โดยมีถ้ำเขาบินเป็นห้องเรียนรู้ชุมชนเพื่อนำองค์ความรู้ของสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรมสื่อ  ทุกสาขาวิชาของคณะวิทยาการจัดการ พัฒนาต่อยอดสร้างกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวถ้ำ Cave & Craft in Forest โดยทดลองจัดกิจกรรมต้นแบบในครั้งนี้

                 สำหรับกิจกรรม  ประกอบด้วยถนนคนเดิน บูธนิทรรศการผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของตำบลหินกอง และเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ไปส่งเสริมยกระดับพัฒนา  มาจัดแสดงจำหน่ายภายในงาน กิจกรรม DIY จำนวน  5 ฐานความรู้โดยปราชญ์ชุมชน ได้แก่ ฐานที่ 1 การทำว่าวไทย  ที่มีมาแต่สมัยโบราณ สอนการทำว่าวจุฬามือถือ และว่าวปักเป้า  ตัวเล็ก ๆ ให้เด็ก ๆได้ใช้จินตนาการระบายสีบนตัวว่าวด้วยตัวเอง แล้วสามารถนำกลับไปวิ่งเล่นว่าวได้ มีประโยชน์ช่วยห่างไกลยาเสพติด ห่างไกลโทรศัพท์มือถือ ฝึกสมาธิ  ถือเป็นการอนุรักษ์การละเล่นโบราณให้คงอยู่ถึงเยาวชนรุ่นต่อไป และยังทำให้เด็กได้วิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน  

                   ฐานที่ 2 การทำพวงมะโหด  ฐานที่ 3 การสานปลาตะเพียน ฐานที่ 4 การวาดรูป ฐานที่ 5 การพับจับจีบใบตอง  ซึ่งได้มีการวางรูปแบบการจัดไว้บริเวณด้านหน้าทางเข้า และกิจกรรมดนตรีเพื่อสร้างสีสันให้กับให้นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีการออกบูธของกลุ่มเกษตรกร และภาคีเครือข่ายจากพื้นที่อำเภอจอมบึง อำเภอเมือง อำเภอสวนผึ้งและพื้นที่ใกล้เคียงนำพืชผัก ผลไม้ สินค้า อาหารแปรรูปที่มาจากท้องถิ่น ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ของฝาก ของที่ระลึกจากชาวบ้านชุมชนมาวางจำหน่าย นั่งแคร่ไม้ไผ่ ชิมน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพรพื้นบ้าน  ซึ่งเกษตรกรปลูกเอง ผลิตเอง และจำหน่ายเองมีให้เลือกชิม ชม ช็อป มากมาย    โดยงานมุ่งเน้นเป็นธรรมชาติ งดใช้กล่องโฟมเพื่อร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตาม BCG ซึ่งถ้ำเขาบินเป็นถ้ำแรก ๆ ในประเทศไทยที่มีการประดับไฟสีสันสวยงาม เสริมเสน่ห์ของหินงอกหินย้อยภายในถ้ำให้มีความตระการตาในการมาเที่ยวถ้ำเขาบินคือได้ถ่ายรูปแสงสีสวย ๆ ภายในถ้ำและเดินชมความงามของหินงอกหินย้อย พร้อมทั้งจินตนาการสิ่งที่เห็นเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ จากปากถ้ำสามารถเดินเข้าไปได้ลึกสุดประมาณ 300 เมตร ใช้เวลาเดินเที่ยวประมาณ 45 นาที พื้นที่ภายในถ้ำแบ่งเป็น 8 ห้อง แต่ละห้องจะมีชื่อตามลักษณะหินงอกหินย้อยที่ตั้งคือ ห้องโถงอาคันตุกะ ศิวะสถาน ธารอโนดาต สกุณชาติคูหา เทวสภาสโมสรสถาน กินนรทัศนา พฤกษาหิมพานต์ และอุทยานทวยเทพ และเปิดการที่ยวตลอดทั้งปี เปิดทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00 - 16:30 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08:00 - 17:00 น. ค่าเข้าผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ด้านหน้ามีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์สิค้าจากชุมชน และฟาร์มแกะที่สามารถมาถ่ายรูปท่องเที่ยวกัน

              ภายหลังเสร็จจากพิธีเปิดงาน คณะกรรมการผู้จัดงานได้แจกว่าวปักเป้าสวย ๆ ให้กับผู้ที่มาร่วมเปิดกิจกรรมดังกล่าว  ได้กลับไปเป็นของที่ระลึก 


                                  ///////////////////////////////////////////////////////////

 พันธุ์ - จรรยา  แก้วนุ้ย จ.ราชบุรี



























ความคิดเห็น